นันโทปนันทสูตรคำหลวง
นันโทปนันทสูตร
เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค
พระพุทธสิริเถระได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี ต่อมาเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เมื่อครั้งผนวชได้ทรงพระนิพนธ์เป็นภาษาไทยชื่อว่า นันโทปนันทสูตรคำหลวง เนื้อความพระสูตรนี้กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงส่งพระมหาโมคัลลานเถระไปทรมานนาคราชนามว่า นันโทปนันท เพื่อให้กลายจากมิจฉาทิฐิมาตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิแล้วนำไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อนันโทปนันทนาคราชได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์แล้วได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าวรรณคดีเรื่องนันโทปนันปทสูตรคำหลวงแต่ก่อนมีชื่อว่า
นันโทปนันท ซึ่งเป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค
พระพุทธสิริเถระได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี ต่อมาเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ได้ทรงผนวชจึงทรงพระนิพนธ์เป็นภาษาไทยซึ่งมีชื่อว่า
นันโทปนันทสูตรคำหลวง
เนื้อความพระสูตรนี้กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงส่งพระมหาโมคัลลานเถระไปทรมานนาคราชนามว่านันโทปนันท เพื่อให้กลายจากมิจฉาทิฐิมาตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิแล้วนำไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อนันโทปนันทนาคราชได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์แล้วได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ประวัติผู้แต่ง
ผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ เรียกกันตามพระนามเดิมจนติดปากว่า เจ้าฟ้ากุ้ง
พระองค์มีพระนามเต็มๆว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระพันวสาใหญ่
กรมหลวงอภัยนุชิต ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๘
เมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์
เนื่องจากทรงมีพระราชอาญา เพราะทรงใช้ดาบฟัน
เจ้าฟ้าพระกรมสุเรนทรพิทักษ์พระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งผนวชอยู่จนจีวรขาดวิ่น
จึงต้องออกผนวชอยู่ถึง ๒ ปี
เมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษ ก็ลาผนวชออกมา
ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชต่อมาพระราชวังที่ประทับเกิดไฟไหม้ จึงเสด็จไปประทับอยู่ในวังหลวงชั่วคราว ตอนนี้แหละทำให้พระองค์ทำผิดอย่างใหญ่หลวง
กล่าวคือได้ทรงมีโอกาสลักลอบทำชู้กับเจ้าฟ้าสองพระองค์ซึ่งเป็น พระสนมของพระราชบิดา พระราชบิดาให้ลงโทษโบย ๒๓๐ ที โดยตีทีละยก ยกละ ๓๐ ที ให้นาบหน้าให้เสียโฉมแล้วเป็นไพร่ แต่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงถูกโบยไปได้แค่
๑๘๐ ที ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เพราะทรงทนไม่ไหว
ราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องทางศาสนา
และใช้คำประพันธ์หลายชนิดในเรื่องเดียวกันในประวัติวรรณคดีไทยมีวรรณกรรมคำหลวงเพียง
๔ เรื่องคือ
๑.มหาชาติคำหลวง
๒.นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.พระมาลัยคำหลวง
๔.พระนนท์คำหลวง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงพระราชนิพนธ์นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง ขณะที่ทรงหนีไปทรงผนวช
เพราะจะถูกลงพระราชอาญาด้วยเหตุที่ทรงมีเรื่องพิพาทกับเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ซึ่งกำลังทรงผนวช อยู่ วรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้ทรงพระราชนิพนธ์ก่อนวรรณกรรมทางโลก เพราะการที่ทรงพิพาทกับพระเชษฐานั้นเกิดขึ้นในวัยหนุ่มจึงนับว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงมีพระอารมณ์รุนแรงมาก ในตอนหนุ่มนั้นทรงมีความอิจฉาริษยา และเจ้าโทสะ แต่เมื่อพระชนมายุมากขึ้น พระอารมณ์เปลี่ยนไปเป็นความรัก ความใคร่อย่างรุนแรง จนนำไปสู่ความหายนะแห่งชีวิต ในที่สุด
วัตถุประสงค์
-
เพื่อแข่งกับมหาชาติคำหลวง
-
เพื่อแสดงถึงความสำนึกผิดที่ทรงใช้ดาบฟันพระภิกษุเจ้าฟ้านเรนทรพิทักษ์
- เพื่อสรรเสริญพระเดชานุภาพพระพุทธเจ้าเพื่อเผยแผ่คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดศรัทธาในพุทธศาสนา โดยทรงนำเนื้อเรื่องมาจากคัมภีร์ทีฆนิกาย
ชื่อ นันโทปนันทสูตร
ลักษณะการแต่ง
- แต่งเป็นร่ายยาว แทรกคาถาบาลี
และมีโคลงสี่สุภาพ ๒ บท
อยู่ในตอนจบ
ร่าย คือ
คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุดและมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น
ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก
เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง
กำเนิดและวิวัฒนาการของร่าย
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)
สันนิษฐานว่าร่ายเป็นของไทยแท้ มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง
ด้วยปรากฏหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีสุโขทัยคือสุภาษิตพระร่วงและต่อมาจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวรรณคดีอยุธยาเรื่องโองการแช่งน้ำในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่
๑พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) สันนิษฐานว่า ร่ายเป็นของไทยแท้
เพราะคนไทยนิยมพูดเป็นสัมผัสคล้องจอง ดังปรากฏประโยคคล้องจองในสำนวนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
กาพย์พระมุนีเดินดงของภาคเหนือ และคำแอ่วของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า คำว่า "ร่าย" ตัดมาจาก
"ร่ายมนต์" สังเกตจากโองการแช่งน้ำที่มีร่ายดั้นปรากฏเป็นเรื่องแรกและมีเนื้อหาเป็นคำประกาศในการดื่มน้ำสาบานวิวัฒนาการของร่ายน่าจะเริ่มจากสำนวนคล้องจองในศิลาจารึกและความนิยมพูดคล้องจองของคนไทยแต่โบราณ
ในบทที่พระภิกษุใช้เทศนาก็ปรากฏลักษณะการคล้องจองอยู่ เป็นการรับส่งสัมผัสจากวรรคหน้าไปยังวรรคถัดไป
โดยไม่ได้กำหนดความสั้นยาวของพยางค์อย่างตายตัว
ซึ่งลักษณะนี้ใกล้เคียงกับร่ายประเภท "ร่ายยาว" มากที่สุด
จึงมีการสันนิษฐานว่า ร่ายยาวเป็นร่ายที่เกิดขึ้นในอันดับแรกสุด ต่อมาจึงเกิด
"ร่ายโบราณ" ซึ่งกำหนดจำนวนพยางค์และจุดสัมผัสคล้องจองตายตัว
และตามมาด้วย "ร่ายดั้น"
ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงดั้นเข้ามา สุดท้ายจึงเกิด "ร่ายสุภาพ"
ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงสุภาพเข้ามา ”
ประเภทของร่าย
ร่ายมีสี่ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้
ดังนี้
๑. ร่ายยาว
๒. ร่ายโบราณ
๓. ร่ายดั้น
๔. ร่ายสุภาพ
ฉันทลักษณ์ของร่ายยาว
ร่ายยาว คือ ร่ายที่ไม่กำหนดจำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๆ
แต่ละวรรคจึงอาจมีคำน้อยมากแตกต่างกันไป การสัมผัส
คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำหนึ่งคำใดในวรรคถัดไป
จะแต่งสั้นยาวเท่าไรเมื่อจบนิยมลงท้ายด้วยคำว่า แล้วแล นั้นแล นี้เถิด โน้นเถิด
ฉะนี้ ฉะนั้น ฯลฯ เป็นต้น
ตัวอย่างฉันทลักษณ์ของร่าย
ตัวอย่าง
“อหํ อันว่าข้า สิริปาโล
ผู้ชื่อพระมหาสิริปาลกประกาศ
นาวจทโดยพระนามแต่ บูรพาทิบรรพัชชครั้งนิวัตรนิเวศน
เปนกษัตริย์เพศวรำ ธม์มาธิเปส์สชยเชฏ์ฐสุริยวํส เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงษ์...”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น